Custom Search

รู้จัก “ นม ” ดีแล้วหรือยัง

นมให้ผลดีหรือร้าย
นานมาแล้วที่มนุษย์เราสรรหาสารพัดวิธีในการบำบัดโรคภัยไข้เจ็บนอกเหนือจากการรับประทานยา เช่น เน้นเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ความร้อน ฯลฯ หรือเชื่อว่าการให้ยาในปริมาณน้อยเกินไปเพื่อรักษาโรคที่เป็นอยู่และการดื่มนมนั้นเป็นยาพิษที่กระตุ้นให้อาการทรุดหนักกว่าเดิม แต่การแพทย์ออธอร์ดอกในยุคกลางกลับใช้วิธีดังกล่าวรักษาโรคร้ายให้หายเป็นปลิดทิ้งและมีกลุ่มแพทย์จำนวนหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์แห่งมงต์เปลิเยร์ ( Montpellier) ทำสงคราต่อต้าน “เครื่องดื่ม” ที่คนนิยมบริโภคกันมากที่สุดในโลกรองลงมาจากน้ำเปล่า ซึ่งหนึ่งในกลุ่มนี้คือ เมอซิเยอร์ อองรี ชัวเยอซ์ ( Henri Joyeux ) อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยาและศัลยกรรมระบบย่อยอาหาร ดอกเตอร์ฌอง ซิญาเล่ต์ (Jean Seignalet) ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเทคนิควิธีการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งระบุว่าฮอร์โมนและส่วนประกอบในนมวัวทำให้ลูกวัวอ้วนขึ้นกว่า 100 กิโลกรัม ภายในระยะเวลาเพียง 1 ปี ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวไม่ได้เกิดกับคนทุกคนที่นิยมดื่มนม นอกจากนี้ตั้งแต่ปีค.ศ.1950 เป็นต้นมา ชาวฝรั่งเศษสูงขึ้น 10 ซม. และมีน้ำหนักมากขึ้น 10 กก. ซึ่งเป็นผลมาจากการมีกระดูกที่แข็งแรงและปริมาณไขมันที่มากขึ้น แต่น่าเสียดายที่พัฒนาการนี้ไม่เกี่ยวข้องกับสมองเลย

หลายคนสงสัยว่าแคลเซียมช่วยป้องกันกระดูกแข้งขาหักได้จริงหรือ ดอกเตอร์ ซีญาเล่ต์ ยืนยันว่า “ แคลเซียมในนมดูดซึมได้ไม่ดีในลำไส้ แต่จะดูดซึมแคลเซียมจากผักได้ดีกว่า ดังนั้นเพียงแค่แคลเซียมที่ได้จากผักสดหรือแห้ง อาหารดิบ ผลไม้ต่าง ๆ และน้ำแร่ก็เพียงพอต่อร่างกายแล้ว ” ส่วนศาสตราจารย์ชัวเยอซ์ไม่เชื่อในประสิทธิภาพของอาหารจำพวกนมมากนักว่าจะสามารถป้องกันกระดูกเสื่อมได้ โดยกล่าวว่า “ลองสังเกตุดูสิว่า ชาวสแกนดิเนเวียนักบริโภคอาหารจากนมขนานแท้กับชาวญี่ปุ่นที่ไม่นิยมนมเนยต่างไม่ต้องเจอปัญหาโรคกระดูกเหมือนกัน” อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเขามั่นใจว่าการบริโภคนมดีกว่าการรับประทานผลไม้ 4 ผล หรือโยเกิร์ต 4 ถ้วยต่อวัน หรือควรเลือกบริโภคเนยจากนมแพะหรือแกะซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันที่ใกล้เคียงกับของคนมากกว่า แต่ต้องยอมเลิกรับประทานผลิตภัณฑ์นมเนยทุกชนิดทันทีที่ล้มป่วย และทางด้านดอกเตอร์ซิญาเล่ต์ กล่าวเสริมอีกว่า เขาเองก็เลิกบริโภคนมทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นนำนมแท้ ๆ หรือนมแปรรูป
นอกจากนี้ยังมีความคิดเห็นของศาสตราจารย์เจรารด์ เดอบรี (Gerard Debry) แพทย์อีกคนหนึ่งจากเมืองนองซี่ (Nancy) ซึ่งเป็นที่ฮือฮากันมา ณ ช่วงเวลานั้นและเจ้าของผลงานเขียนเรื่อง “ นม สารอาหารและสุขภาพ ” (Lait, Nutrition et Sante) ซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์สุขภาพอีกเล่มหนึ่งก็ว่าได้ “นมไม่ได้เป็นแค่แหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุดสำหรับผู้หญิงวัยรุ้นหรือสูงอายุ แต่เป็นทั้งอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารอื่น ๆ มีโปรตีนสูง มีไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย 3.6 % โดยเฉพาะวิตามินเอ บี 2 และบี 12” รวมทั้งอีกหนึ่งความคิดเห็นของดอกเตอร์ฌอง-มิเชล เลอแซรฟ์ (Jean-Michel Lecerf) จากสถาบันปาสเตอร์ (Institut Pasteur) แห่งเมืองลีล (Lille) ผู้จัดทำหลักสูตรศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการย่อยอาหาร “ไม่มีใครสามารถระบุได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าอาหารไหนดีหรือไม่ดี และเราต่างก็ผิดมาโดยตลอดที่เปรียบเทียบชาวฝรั่งเศษกับชาวญี่ปุ่นซึ่งมีระบบการดูดซึมอาหารไม่เหมือนกัน อาหารการกินและสุขภาพอนามัยก็ต่างกัน แต่ผลิตภัณฑ์จากนมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและพฤติกรรมการกินอยู่ของคนเรามาหลายศตวรรษแล้วจนยากจะปฏิเสธ อีกทั้งประโยชน์จากแคลเซียมที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ที่พบมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งก็น่าแปลกที่การบริโภคนมมากเกินไปกลับเสี่ยงต่อโรคร้ายนี้พอ ๆ กับคนที่เลิกดื่มนมและมีการยืนยันว่า นมวัว (รวมทั้งนมแม่) ก็ไม่ได้เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับเด็กแรกเกิด ลองนึกถึงเด็กวัยก่อน 5-6 เดือนดูสิ มักป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง พัฒนาเป็นโรคเบาหวานในผู้ใหญ่จนกระทั่งโรคอ้วนและเป็นที่ทราบกันว่าแคลเซียมไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่เสริมสร้างให้กระดูกแข็งแรงแต่ขึ้นอยู่กับการบริหารร่างกาย วิตามินดี (จากแสงแดด) ผัก และผลไม้” จึงขอแนะนำว่าควรบริโภคผลิตภัณฑ์นมอย่างมากแค่ 3 ชนิดต่อวัน แต่ถ้าร่างกายยังขาดแคลเซียมอยู่ให้หันมารับประทานพวกปลาตัวเล็ก ที่รับประทานได้ทั้งตัวปรือแคลเซียมในรูปเสริมอาหารด้วย

น้ำตาลในนมระคายท้อง
“ น้ำตาลนม ” เป็นคาร์โบไฮเดรตหรือน้ำตาลตามธรรมชาติที่พบในนมทุกชนิด หนึ่งในจำนวนนั้นประกอบด้วยน้ำตาลแล็กโทส (Lactose) ซึ่งนมจะมีน้ำตาลชนิดนี้มากกว่าน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตชนิดอื่น โดยมีประมาณร้อยละ 6-7 ในน้ำนมแม่ และร้อยละ 5 ในน้ำนมวัว ความพิเศษของน้ำตาลแล็กโทสอยู่ที่ประกอบด้วยน้ำตาลชั้นเดียวสองโมเลกุลรวมกันคือ น้ำตาลกลูโคส และกาแล็กโทส น้ำตาลแล็กโทสจะมีความหวานมันน้อยกว่าน้ำตาลทราย เทียบได้ประมาณหนึ่งในหกของน้ำตาลทราย ร่างกายของคนเราโดยเฉพาะเด็กแรกเกิดจะมีน้ำย่อยที่เรียกว่าแล็กเทส (Lactase) อยู่ภายในลำไส้ ทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลแล็กโทสเพื่อให้ร่างกายดึงน้ำตาลในนมไปใช้ได้ และโดยปกติระดับของน้ำย่อยแล็กเทสจะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ส่วนผู้ใหญ่โดยเฉพาะชาวเอเซียที่ไม่มีนิสัยรักการดื่มนมเป็นประจำร่างกายก็จะเลิกสร้างหรือมีการสร้างน้ำตาลแล็กเทสลดลง ทำให้ผู้ใหญ่มักมีอาการผิดปกติเมื่อดื่มนมเข้าไป เช่น อาการแน่นท้อง ท้องอืด ปวดท้อง ท้องเสีย หรือรุนแรงถึงขึ้นท้องร่วง เป็นต้น อาการเหล่านี้เกิดจากการที่ร่างกายย่อยน้ำตาลแล็กโทสที่ไม่ผ่านกระบวนการย่อยถูกส่งไปยังลำไส้ ซึ่งแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่จะเป็นตัวย่อยสลายน้ำตาลแล็กโทสจนเกิดเป็นกรดและก๊าซขึ้นจนทำให้มีอาการผิดปกติ ดังนั้นเราจึงควรรู้วิธีการดื่มนมเพื่อหลีกเลี่ยงการระคายท้องดังนี้
1.
เริ่มต้นดื่มนมในปริมาณน้อย เช่น เริ่มจากดื่ม ¼ แก้ว แล้วค่อย ๆ เพิ่มเป็น ½ แก้ว จนสามารถดื่มได้วันละ 1 แก้ว ซึ่งจะใช้เวลาปรับตัวประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่ต้องอดทนหากมีอาการไม่มากนัก
2. อย่าดื่มนมขณะท้องว่าง ควรดื่มนมหลังอาหารหรือหาอะไรรับประทานขณะดื่มนมจะช่วยได้มาก
3. ถ้าใช้ทั้ง 2 วิธีดังกล่าวแล้วอาการยังคงรุนแรงอยู่ ควรเลือกรับประทานโยเกิร์ตชนิดครีมแทน
4. ถ้าไม่ได้ผลทั้ง 3 วิธี คงต้องหาแหล่งแคลเซียมอื่น ๆ ทดแทน อาทิ ผักใบเชียว เต้าหู้แข็ง หรือปลาตัวเล็กที่รับประทานได้ทั้งตัว

นมถั่วเหลืองไม่เหมาะกับเด็กเล็ก
เนื่องจากแนวโน้มการเพิ่มจำนวนของโรคแพ้อาหารมีมากขึ้น จึงทำให้ผู้คนตกอยู่ในภาวะหวาดกลัว (อาหาร)ก้าวเข้าสู่ยุคอาหารชีวจิตเพื่อสุขภาพและนิยมเลี้ยงเด็กแรกเกิดด้วยนมถั่วเหลืองมากขึ้นเรื่อยๆ ยกเว้นในสหรัฐฯ ซึ่ง 15% ของจำนวนเด็กแรกเกิดไม่ดื่มนมถั่วเหลือง เพราะถึงแม้ว่าจะปลอดภัยจากอาการแพ้ แต่นมถั่วเหลืองมีปริมาณธาตุแคลเซียมและสารอาหารที่จะไปเลี้ยงฮอร์โมนเพศหญิง ไฟโต-เอสโตรเจน (Phyto-Estrogen) ต่ำกว่านมวัว นอกจากนี้การที่เด็กแรกเกิดสามารถดื่มนมได้ปริมาณมากและเร็วกว่าผู้ใหญ่ชาวเอเซียหรือผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนถึง 10 เท่านั้น จึงมีผลกระทบต่อพัฒนาการทางร่างกายของเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการศึกษาวิจัยขององค์การวิทยาศาสตร์แห่งสหรัฐฯ คาดว่าการบริโภคนมถั่วเหลืองจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของปัญหาระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องและความแข็งแรงของกระดูก

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก www.formumandme.com